ความร่วมมือระดับทวิภาคี

ความร่วมมือระดับทวิภาคี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้พัฒนาความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ในระดับทวิภาคีกับหลายประเทศ โดยมีความร่วมมือสำคัญระหว่างปี 2557-2559 ได้แก่ 1. ความร่วมมือไทย-เมียนมา กระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทย และสหภาพเมียนมา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยมีความร่วมมือทั้งหมด 8 สาขา และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม แผนการปฏิบัติงานร่วมกัน (Joint action plan) ระหว่าง พ.ศ.2556-2559 ภายใต้บันทึกความเข้าใจข้างต้น กำหนดกรอบร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม ดังต่อไปนี้ (1) การพัฒนาบุคลกรด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยการศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม (2) การพัฒนาคุณภาพและการผลิตยาแผนดั้งเดิม โดยการศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม (3) การพัฒนางานวิจัยด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยการทำวิจัยร่วมกัน (4) การเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องกฎหมาย ข้อบังคับด้านการแพทย์ดั้งเดิม 2. ความร่วมมือไทย-ภูฎาน สืบเนื่องจากการเยือนราชอาณาจักรภูฎาน ของศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของราชอาณาจักรภูฎาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน […]

ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ย้อนกลับ การประชุมครั้งที่ 8 จะจัดขึ้นที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาในปี พ.ศ.2560 เครือข่ายการแพทย์พื้นบ้าน 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง : ความร่วมมือนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนงาน ไทย-ลาวร่วมเป็นเจ้าภาพเครือข่ายแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ประชุมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ไทย-ลาว เจ้าภาพประชุมแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขงฯ ร่วมแก้ปัญหาสุขภาพยุคใหม่          การสร้างเครือข่ายด้านการแพทย์พื้นบ้านระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่ายหมอพื้นบ้านในภาคเหนือและขยายผลร่วมกับเครือข่ายหมอพื้นบ้านลุ่มน้ำโขงตอนบน ได้แก่ สิบสองปันนา ไทยใหญ่ และลาวล้านช้าง จนเกิดเป็นเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรลุ่มน้ำโขงตอนบน ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นการประชุมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายหมอพื้นบ้านและสมุนไพรลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 1 โดยเน้นประเด็นความหลากหลายของพันธุ์พืชสมุนไพรจากเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งถือเป็นการระดมศักยภาพทางด้านพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นประโยชน์สำหรับการแพทย์พื้นบ้าน          การจัดประชุมครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในเวลาต่อมาที่ประเทศไทย โดยเน้นประเด็นประสบการณ์โดดเด่นของเครือข่ายหมอพื้นบ้านในแต่ละประเทศ โดยยังคงสมาชิกในเครือข่ายเดิมจาก 4 ประเทศ          การจัดประชุมครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยโรงพยาบาลไตสิบสองปันนาร่วมกับสมาคมกาแพทย์พื้นบ้านจีนเป็นเจ้าภาพจัดงานที่เมืองจิ่งหง แคว้นสิบสองปันนา การประชุมครั้งนี้เน้นความหลากหลายขอภูมิปัญญาการแพทย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง […]

ความร่วมมือในกรอบอาเซียน

ASEAN Conference on Traditional Medicine         การประชุม ASEAN Conference on Traditional Medicine จัดขึ้นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ “Conference on Traditional Medicine in ASEAN Countries: Regional Cooperation on Traditional Medicine Towards Its Utilization on the National Healthcare Systems and the Primary Health Care” เมื่อปี พ.ศ.2552 ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ ด้วยการริเริ่มของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดการประชุมจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และมูลนิธินิปปอน (The […]