การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการสร้างผลงานวิชาการและนวัตกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก สู่ความเชี่ยวชาญ

การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการสร้างผลงานวิชาการและนวัตกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก สู่ความเชี่ยวชาญ วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 น. นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการสร้างผลงานวิชาการและนวัตกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก สู่ความเชี่ยวชาญ โดยมี ดร.รัชนี จันทร์เกษ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย อาจารย์ประจำสาขาการแพทย์บูรณาการ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภญ.พันธ์วิรา เวยสาร หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนเขตสุขภาพ กองวิชาการและแผนงาน ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งมี ผู้บริหารและบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สร้างสรรค์ผลงานอย่างไร ให้ได้เป็นพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติ ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก” การสร้างสรรค์ผลงานแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) โดยได้รับเกียรติจาก พท.เพ็ชรมะณี พลราชม แพทย์แผนไทยชำนาญการ […]

ความร่วมมือระดับทวิภาคี

ความร่วมมือระดับทวิภาคี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้พัฒนาความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ในระดับทวิภาคีกับหลายประเทศ โดยมีความร่วมมือสำคัญระหว่างปี 2557-2559 ได้แก่ 1. ความร่วมมือไทย-เมียนมา กระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทย และสหภาพเมียนมา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยมีความร่วมมือทั้งหมด 8 สาขา และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม แผนการปฏิบัติงานร่วมกัน (Joint action plan) ระหว่าง พ.ศ.2556-2559 ภายใต้บันทึกความเข้าใจข้างต้น กำหนดกรอบร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิม ดังต่อไปนี้ (1) การพัฒนาบุคลกรด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยการศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม (2) การพัฒนาคุณภาพและการผลิตยาแผนดั้งเดิม โดยการศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม (3) การพัฒนางานวิจัยด้านการแพทย์ดั้งเดิม โดยการทำวิจัยร่วมกัน (4) การเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องกฎหมาย ข้อบังคับด้านการแพทย์ดั้งเดิม 2. ความร่วมมือไทย-ภูฎาน สืบเนื่องจากการเยือนราชอาณาจักรภูฎาน ของศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของราชอาณาจักรภูฎาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน […]

ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ย้อนกลับ การประชุมครั้งที่ 8 จะจัดขึ้นที่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาในปี พ.ศ.2560 เครือข่ายการแพทย์พื้นบ้าน 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง : ความร่วมมือนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนงาน ไทย-ลาวร่วมเป็นเจ้าภาพเครือข่ายแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ประชุมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 11 ไทย-ลาว เจ้าภาพประชุมแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขงฯ ร่วมแก้ปัญหาสุขภาพยุคใหม่          การสร้างเครือข่ายด้านการแพทย์พื้นบ้านระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่ายหมอพื้นบ้านในภาคเหนือและขยายผลร่วมกับเครือข่ายหมอพื้นบ้านลุ่มน้ำโขงตอนบน ได้แก่ สิบสองปันนา ไทยใหญ่ และลาวล้านช้าง จนเกิดเป็นเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรลุ่มน้ำโขงตอนบน ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นการประชุมการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายหมอพื้นบ้านและสมุนไพรลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 1 โดยเน้นประเด็นความหลากหลายของพันธุ์พืชสมุนไพรจากเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งถือเป็นการระดมศักยภาพทางด้านพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นประโยชน์สำหรับการแพทย์พื้นบ้าน          การจัดประชุมครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในเวลาต่อมาที่ประเทศไทย โดยเน้นประเด็นประสบการณ์โดดเด่นของเครือข่ายหมอพื้นบ้านในแต่ละประเทศ โดยยังคงสมาชิกในเครือข่ายเดิมจาก 4 ประเทศ          การจัดประชุมครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยโรงพยาบาลไตสิบสองปันนาร่วมกับสมาคมกาแพทย์พื้นบ้านจีนเป็นเจ้าภาพจัดงานที่เมืองจิ่งหง แคว้นสิบสองปันนา การประชุมครั้งนี้เน้นความหลากหลายขอภูมิปัญญาการแพทย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง […]