"จุลสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561"
การรักษาด้วยศาสตร์การเเพทย์แผนไทย สมุนไพรภูมิปัญญาร่วมสมัยพร้อมรับมือฤดูร้อน
"ไพล" สมุนไพรร่วมสมัยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันนำ “ไพล” มาสกัดในรูปแบบ น้ำมัน ครีม ยาหม่องและเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจมีรูปแบบที่ทันสมัย พกพาง่าย
“มะลิ สมุนไพรไทยที่ใช้ในประเพณีสงกรานต์”
ดอกมะลิ เป็นหนึ่งในดอกไม้ที่ใช้ในประเพณีสงกรานต์ เชื่อว่าเป็นดอกไม้มงคลและเป็นดอกไม้ประจำองค์พระนารายณ์ นอกจากนั้นดอกมะลิยังมีประโยชน์ในศาสตร์
การแพทย์แผนไทย จัดเป็นยาไทยรสหอมเย็น สามารถใช้บำรุงหัวใจ แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นต้น
“การป้องกันและรักษาโรคทางเดินอาหารที่มักพบในฤดูร้อนตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย”
โรคที่พบบ่อย คือ โรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารที่ผิดปกติหรือรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งรักษาโดยใช้
ตำรับยาแผนไทยที่ผ่านการพิจารณาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยแล้ว ได้แก่ ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร
“โรคลมแดด (Heat Stroke) ภัยร้ายที่มากับฤดูร้อน”
โรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกิน จนปรับอุณหภูมิไม่ทัน มีอาการตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ
กระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ บทความรู้จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันการเป็นลมแดดตลอดจนเมนูคลายร้อนที่เหมาะสม
“บัวบก สมุนไพรช่วยคลายร้อน”
บัวบก สามารถลดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการฟกช้ำดำเขียวหรืออาการเจ็บป่วยจากภายในร่างกาย มีทั้งแบบรับประทานและ/หรือทาภายนอก ปัจจุบันเป็นยา
ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีข้อบ่งใช้ว่าเป็นยาลดไข้ แก้ร้อนในและช้ำใน นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำและระบบประสาทโดยเพิ่มความสามารถในการจดจำ
และสมานแผล